แผนงานสร้าง landmark สำหรับวัดป่าเจดีย์ทอง คิดแล้วทำ

Last updated: 14 ม.ค. 2566  |  539 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แผนงานสร้าง landmark สำหรับวัดป่าเจดีย์ทอง คิดแล้วทำ

แผนงานสร้าง landmark สำหรับวัดป่าเจดีย์ทอง คิดแล้วทำ จากภูมิศาสตร์ที่ตั้งของวัดป่าแดงของเรานั้นต้องหาจุดสังเกตุที่ทำให้มีผู้คนสนใจวัดของเราเป็นอีก 1 ความท้าทายที่ผู้ใหญ่บ้านอย่างผมต้องคิดแล้วทำทันทีครับ ตามที่ผมบอกหมู่บ้านของเรานั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เป็นทางผ่านสำหรับหลายหมู่บ้านที่ขับรถผ่าน ถึบจักรยาน ขับมอเตอร์โซค์ แล้วเราจะทำอย่างไรให้พวกเขาเหล่านั้นได้แวะที่วัด ทำบุญ ไหว้พระสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดของเราได้ นั่นสิทำอย่างไร ?

สิ่งที่เราคิดได้นั้นต้องเริ่มมองจาก งบประมาณ ก่อนเป็นอันดับแรก วัดเล็ก ๆ ห่างไกลความเจริญ ไม่มีอะไรโดดเด่นในหมู่บ้าน ผู้คนในหมู่บ้านก็น้อย หาเงินที่จะมาพัฒนาอะไรก็ยาก แต่สิ่งที่ผมคิดได้นั้นจะไม่พึ่งพาเงินหรืองบประมาณจากหน่วยงานอื่นมาช่วยเหลือ เพราะถ้ารอแบบนั้น อีก 100 ปีก็ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในหมู่บ้านของเรา ผมในฐานะผู้ใหญ่บ้านจึงคิดว่าต้นไม้นี่แหละที่จะทำให้ผู้คนนักท่องเที่ยวได้สนใจวัดของเรามากขึ้น แล้วต้นอะไรล่ะที่จะดึงดูดคนได้พร้อมสร้างความร่มรื่นให้กับวัดของเรา 

นางพญาเสือโคร่ง ( ภาพจากเนต ) เป็นไม้ดอกที่น่าสนใจเป็นอย่างมากและขึ้นตามภูเขาผมคิดว่าต้องทนแล้งอย่างแน่นอน จึงเป็นต้นไม้ที่ผมมองว่าน่าจะสร้าง แลนด์มาร์กให้กับวัดป่าแดงของเราได้เป็นอย่างดี เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างจุดสนใจให้กับวัดของเราและเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลา อาจจะ 3 ปี หรือ 5 ปีกว่าจะออกดอก ออกผล แต่ถ้าเราไม่เริ่ม วัดเราก็จะไม่เกิดสิ่้งใหม่ ๆ สิ่งที่ผมคิดและทำก็เพื่อ ประโยชน์ต่อวัดและ พระในวัดของเรา แต่ในการปลูกต้นไม้นั้นไม่ลงทุนเลยก็เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างต้องมีการลงทุน ตรงนี้ ก็ต้องใช้งบประมาณของวัดที่มี แบ่งมาเพื่อการบำรุงดูแลวัดของเราให้เป็นจุดสนใจของผู้คน

เหตุผลที่ผมเลือกต้นไม้ในการสร้างแลนด์มาร์กคืออะไร ?

  1. ต้นทุนต่ำ จับต้องได้โดยไม่ต้องรองบประมาณจากใคร
  2. เน้นทำกันเอง ( เน้นให้พระดูและ ) วางแผนโดยผู้ใหญ่บ้าน คอยให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกโดยผุ้ใหญ่บ้าน
  3. สถานที่ตั้งของวัดเหมาะที่จะสร้างเนื่องจากอยู่ติดถนนทางหลวงชนบท
  4. พระทำกันเองได้ ช่วยให้จิตใจสงบ เยื่อกเย็นสร้างผลงานให้กับพระเอง
  5. ความเป็นไปได้สูงและรักษ์ธรรมชาติ เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลกของเรา
  6. ต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นต้นไม้ที่ดึงดูดผู้คนได้ดี

แผนการปลูกและดูแลต้นไม้เป็นอย่างไร ?

การดูแลต้นไม้ให้โตเป็นไปตามแผนหรืออาจใช้เวลาน้อยกว่า 5ปีนั้น เราต้องมีแผนการดูแลที่ดีและถูกต้องสม่ำเสมอ สิ่งที่ผมได้วางแผนให้กับทางวัดก็คือ อินทรีย์วัตถุ เนื่องจากบ้านของผมมีโรงสีที่มีแกลบดิบ รำหยาบ รำละเอียด แกลบดำที่ได้มาฟรี และกากน้ำตาลที่ใช้ไม่มากราคาไม่แพง ตรงนี้ผมออกให้กับวัดเอง คิดแล้วทำ โดยมีพระช่วยสานต่องาน เรื่องวัสดุอุปกรณ์ผมจัดการให้ โดยมีขั้นตอนการปลูกดังนี้เพื่อลดต้นทุน

  1. วัดระยะ วางผังการปลูกต้นไม้ให้มีระเบียบ ตรงนี้ถือว่าเป็นประสพการณ์ที่ดีที่ผมได้มีส่วนร่วมในการดูแลงานกฐินปี 65 ทำให้ผมมองถึงแผนออกว่าจะปลูกต้นไม้อย่างไรโดยไม่เสียพื้นที่ใช้งานภายในวัด
  2. ขุดหลุมเปิดหน้าหลุม แล้วใช้แกลบดิบ ขี้วัว แกลบดำ ผสมกับน้ำกากน้ำตาลรดน้ำ แล้วปิดด้วยหญ้าเพื่อหมักปุ๋ยอินทรีย์คาที่ใช้เวลาหมัก 15 วัน
  3. ปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งหลังจาก 15 วันเพื่อรอให้ปุ๋ยหมักทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ไม่เกิดความร้อนจากแกลบดิบ
  4. ดูแลรดน้ำโดยพระสงฆ์ในวัด

 นี้เป็นเพียง 1 โครงการที่ผมได้คิดไว้ โครงการที่ 2 รอเวลากันหน่อยครับ เดียวผมจะมาเฉลยว่าทำอย่างไรจะให้วัดมีรายได้ไม่ขาดในแต่ละปี อาจต้องลงทุนหน่อยแต่คุ้มค่าที่จะทำแน่นอน ผมได้สั่งต้นนางงพญาเสือโคร่งมา 60 ต้นโดยผมนำมาลงทดลองปุ๋ยอินทรีย์ที่บ้าน 5 ต้น หากดูแลแบบรอโชคชะตาไม่ได้การแน่นอนครับ ทำแล้วต้องมีแบบแผนรับมือกับธรรมชาติที่ดี

 วันเริ่มงานวันที่ 13/1/2566

 เริ่มหาระยะห่างการปลูกต้นไม้กันครับ ทั้งวัดก็มีพระอยู่ประจำ 2 รูปด้วยกัน ท่านเจ้าอาวาสและพระลูกวัด 1 รุป

หาแนวปลูกพร้อมวัดระยะห่างที่ดูสวยงาม ทั้งนี้ผมวางแผนระยะห่างไว้ที่ 7เมตร ต่อ 1 ต้นกะว่าไม่ให้พุ่มทับซ้อนกันมากจนเเกินไปเดียวต้นไม้จะสูงเกินความเป็นจริง

เตรียมขุดหลุมสำหรับปลูกต้นไม้ พื้นที่ดินในวัดมีความแข็งมาก ต้องค่อย ๆ เซาะแล้วขุดหล่อน้ำไว้

วันที่ 14 มกราคม 2566 วันเริ่มปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งครับ เป็นวันแรก จากการที่ต้องรอปุ่ยผสมเองตอนนี้ก็ซื้อดินปุ๋ยมาปลูก กลัวจะเสียเวลาเกินไป ทุกคนลงความเห็นกันว่าซื้อสำเร็จรูปมาปลูกก่อนดีกว่า 

ก็ทำกันอยู่ 3 คน เจ้าอาวาส 1 หลวงพี่ลือ 1 ผู้ใหญ่บ้าน 1 ครับ ช่วงนี้ช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงานชาวบ้านไม่ว่างกัน เราก็วางแผนทำอะไรได้ก็ทำกันไปก่อนครับ หลังตัดอ้อยเสร็จค่อยขอแรงชาวบ้านทำรั้วด้านข้างกันครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้