Last updated: 20 ส.ค. 2567 | 141 จำนวนผู้เข้าชม |
รีโนเวทบ้านปลวกกินจาก2ชั้น ชั้นบนเป็นไม้สู่บ้านชั้นเดียว งานที่่ออกแบบไว้ตอนนี้ได้เวลาในการทำงานตามขั้นตอนแล้วเนื่องจากผู้รับเหมามารื้อบ้านที่ซื้อไป ซึ่งท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://www.thaidrawing.com/content/5236/
ท่านก็จะได้เห็นบ้านก่อนการรื้อถอน ซึ่งเหตุผลที่ต้องรื้อก็คือไม้ชั้นบน ถูกปลวกกินจนหมดเพราะบ้านสร้างจากงบประมาณที่มีตามความสามารถความพอเพียงของเจ้าของบ้าน โดยไม่ได้มองถึงอนาคตว่าจะมีอายุการใช้งานได้นานเพียงใด โดยระยะเวลาประมาณ 15 ปีที่ใช้งานมา บ้านชั้นบนก็ถูกธรรมชาติจัดการเป็นที่เรียบร้อยแล้วดังนั้นเมื่อถึงเวลาไม่ต้องคิดมากครับ ต้องรื้อแล้วทำใหม่โดยมีแนวทางตามนี้
แบบบ้านมีไม่กี่แผ่นเน้นสัดส่วนที่เหมาะสมและสามารถต่อเติมพื้นบ้านเมื่อมีงบประมาณในอนาคต ซึ่งขนาดเหล็กและปริมาณทุกอย่างคำนวณได้จากประสบการณ์การทำงาน มาอย่างยาวนานของช่างผู้รับเหมา มาเริ่มงานกันเลยดีกว่าครับ
หลังจากรื้อไม้ชั้นบนออกแล้ว ผู้รับเหมาก็เข้างานกันเลยครับ เร่ิ่มจากการต่อเสาให้สูงได้ระดับหลังอะเสตามรูปตัดเลยครับ ในกรณีนี้เราจะไม่มีเหล็กอะเสรัดรอบตัวบ้านเนื่องจากเป็นบ้านที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีนี้ใช้ความสูงของหัวเสารับเหล็กสะพานรับจันทันอย่างเดียว แบบไล่ระดับโดยหัวเสากันเลย เพื่อประหยัดเหล็ก ในการทำงานช่วยให้เจ้าของบ้านประหยัดต้นทุน แต่ที่ได้มาคือความสวยงามแข็งแรง และเก็บงานปูนได้ง่าย ง่ายยังไงก็ต้องอ่านกันเป็นขั้นเป็นตอน โอเคเผื่อมีบางท่านมองภาพไม่ออกก็ตามรูปด้านล่างนี้เลยครับ
หลังจากทำการต่อหัวเสาเสร็จก็เริ่มทำโครงสร้างหลังคากันก่อน แต่ก่อนที่จะขึ้นโครงสร้างหลังคาก็ต้องมีการเททับหลังผนังอิฐเก่าในบางจุดเพื่อกันสั่นเมื่อขึ้นไปทำงานก่อนครับ เนื่องจากการรื้อบ้านเก่านั้นพบปัญหาเรื่องผนังก่ออิฐไม่ค่อยได้เทรัดทับหลังวงกบประตูหน้าต่างกันเลย ดังนั้นเราจึงสร้างความแข็งแรงให้เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของตัวบ้าน
เริ่มเห็นภาพกันแล้วนะครับ หลังจากหล่อหัวเสาและตั้งเสาเพิ่มหน้าบ้าน ต่อเติมให้เต็มหน้าบ้าน เดี๋ยวมาเสียดายทีหลังเราจึงแนะนำเจ้าของบ้านว่าทำทีเดียวเลย อยากจอดรถยนต์หน้าบ้านก็จอดได้ มอเตอร์ไซค์ก็ได้ พื้นที่ใช้สอยไม่ติดขัด ตรงนี้เราต้องเข้าใจหลักการใช้ชีวิตประจำวันของเรา
งานเททับหลังผนังที่ไม่แข็งแรงเราจะเทตลอดทุกผนังเพื่อที่จะก่ออิฐขึ้นไปชนหลังคา เพื่อการเก็บงานฝ้าที่แข็งแรงทนทาน เราต้องคำนึงถึงงานเก็บให้ดีเนื่องจากถ้าเราใช้ไม้ฝาแล้วมีปัญหาในการเก็บงานเป็นอย่างยิ่ง ตรงนี้เราก็มองถึงความจำเป็นตามหน้างานเนื่องจากเราต่อหัวเสาขึ้นไปสูงและเพิ่มแรงยึดเกาะให้กับผนังและเสาเชืื่อมติดกันแบบขึ้นไปทำหลังคาไม่มีสั่นไหวกันกัน บ้านหลังนี้ดีตรงที่เป็นบ้านชนบท ทำเสาห่างกันแค่ 3 เมตรดังนั้นจึงประหยัดเรื่องขนาดเหล็กดครงสร้างหลังคาเป็นอย่างมาก แต่ถึงจะประหยัดเรื่องขนาด แต่ความหนาเราก็ต้องมีอย่างน้อย 1.5 มม. เพราะกลัวมีปัญหาเรื่องรอยเชื่อม ถ้าเหล็กบางรอยเชื่อมก็ไม่แข็งแรง เก็บงานหรือรอยเชื่อมด้วยสีสเปรย์กระป๋องเนื่องจากเป็นเหล็กกัลวาไนซ์
หลักการณ์การเททับหลังคืออะไร ?
การทำงานถ้าเราไม่คำนึงถึง งบประมาณ เวลาการทำงาน เราก็จะเสียหายหลายบาท ดังนั้นขั้นตอนการทำงานก่อนการเททับหลังคือ เราต้องก่ออิิฐเก็บงานผนังอิฐเดิมก่อนให้เสมอกัน จากนั้นค่อยเข้าแบบเททับหลัง เพื่อลดความเสียหายเรื่องงบประมาณ และเวลาในการทำงาน การทำงานทุกขั้นตอนต้องมีการวางแผน ถึงแม้นว่าเราจะรับเหมา เราก็ต้องทำให้งานเราน้อยที่สุดเพื่อศักยภาพเรื่องการบริหารจัดการ ด้านแรงงาน ขั้นตอนทุออย่างสำคัญเสมอ เราไม่ทำงานโดยไม่วางแผนก่อน
ทับหลังเสร็จเราก็ก่ออิฐเก็บงาน ชนหลังคาเลยเพื่อจะได้ทำงานขั้นตอนต่อไปได้อย่าง สะดวก แข็งแรง และมีกากั้นห้องให้กับเจ้าของบ้านด้วยตามความต้องการ เพื่อความเป็นส่วนตัวของสมาชิกภายในบ้าน ในที่นี้เราแนะนำก่ออิฐมวลเบาเนื่องจากเราไม่รู้ว่าโครงสร้า่งคานเป็นอย่างไร เพราะเป็นบ้านชนบท ให้คิดว่าสร้างน้ำหนักให้น้อยที่สุดแต่แข็งแรงไว้ก่อน
งานทุกขั้นตอนการันตีเรื่องความแข็งแรงของวัสดุและวิธีการทำงานที่ถูกต้อง เราไม่มองข้ามในเรื่องนี้เพราะเจ้าของบ้านก็เป็นลูกบ้านในหมู่บ้านของเรานีเอง ถึงแม้จะเป็นคนอื่นขั้นตอนการทำงานเราก็ยังคงเดิม มีขั้นตอนที่ชัดเจน มั่นคง แข็งแรง ไม่มักง่ายแน่นอน ไม่เน้นกำไร ไม่เน้น เพิ่มงานเพิ่มเงินระหว่างการทำงาน ตกลงกันก็ตามนั้น แต่ความมั่นคงและวิธีการทำงานที่ถูกต้องยังคงอยู่
เดียวถ่ายรูปเพิ่มมาให้ชมครับ ตอนนี้ฉาบเสร็จแล้วรองานไฟฟ้า รอเจ้าของบ้านกลับมาจาก กทม. ไม่รู้เหมือนกันว่าอนาคตเจ้าของบ้านหรือผู้จ่ายเงินจะเป็นเช่นไร แต่สุดท้าย เราก็เกิดมาเพื่อดับสูญไปตามกาลเวลาผลงาน ณ. เวลานี้ 19-8-2567
ช่างฝ้าเข้าแล้วครับวันนี้ ช่างฝ้าคนนี้เป็นงานไฟฟ้าด้วย จบในช่างเดียว และช่างคนเดียว
ภาพโดยรวม งานประตูหน้าต่าง 95 % ใช้ของเดิม
18 ส.ค. 2567